ออกแบบห้องน้ำอย่างไร ให้เหมาะกับผู้สูงอายุ
จากงานวิจัยพบว่าผู้สูงอายุที่เคยลื่นล้มมา เกิดจากการไม่มีการติดตั้งราวจับหรือราวเกาะยึดตัวในห้องน้ำ ถึงร้อยละ 55.71 ตามมาด้วย พื้นลื่น และสาเหตุอื่นๆ เช่น ยืนบนพื้นที่ไม่มั่นคง อาการหน้ามืด ดั้งนั้นห้องน้ำเป็นห้องแรกๆ ในบ้านที่ต้องให้ความสำคัญในการปรับปรุงบ้านสำหรับผู้สูงอายุ การออกแบบนั้นควรหลีกเลี่ยงการตกแต่งที่มีการเล่นระดับของพื้น ออกแบบให้มีแสงสว่างให้เพียงพอ อีกทั้งควรเพิ่มราวจับบริเวณข้างชัดโครกหรือเพิ่มเก้าอี้นั่งอาบน้ำเพื่อความปลอดภัย
จากการจัดอันดับของประเทศในเอเชีย มีสัดส่วนการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว การสร้างที่อยู่อาศัยเพื่อผู้สูงอายุจึงเป็นเรื่องที่ต้องตระหนักถึง รวมไปถึงผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ต่างๆ รวมไปถึงวัสดุก่อสร้างที่ใช้สำหรับสร้างบ้านและอาคารอีกด้วย
จากงานวิจัยพบว่าผู้สูงอายุที่เคยลื่นล้มมา เกิดจากการไม่มีการติดตั้งราวจับหรือราวเกาะยึดตัวในห้องน้ำ ถึงร้อยละ 55.71 ตามมาด้วย พื้นลื่น และสาเหตุอื่นๆ เช่น ยืนบนพื้นที่ไม่มั่นคง อาการหน้ามืด ดั้งนั้นห้องน้ำเป็นห้องแรกๆ ในบ้านที่ต้องให้ความสำคัญในการปรับปรุงบ้านสำหรับผู้สูงอายุ การออกแบบนั้นควรหลีกเลี่ยงการตกแต่งที่มีการเล่นระดับของพื้น ออกแบบให้มีแสงสว่างให้เพียงพอ อีกทั้งควรเพิ่มราวจับบริเวณข้างชัดโครกหรือเพิ่มเก้าอี้นั่งอาบน้ำเพื่อความปลอดภัย
พื้นห้องน้ำควรมีพื้นที่ว่างและไม่เล่นระดับ
พื้นที่ว่างภายในห้องต้องมีอย่างน้อย1.50 x 1.50 ม. เพื่อให้รถวีลแชร์สามารถหมุนภายในห้องน้ำได้ อีกทั้งควรมีพื้นที่อยู่ในระดับเดียวกัน หรือต่างกันไม่เกิน 2 เซนติเมตร อีกทั้งพื้นห้องน้ำต้องไม่ลื่น มีสีสว่างและผิวหยาบ หากพื้นเดิมเป็นวัสดุที่ลื่นก็สามารถเคลือบยากันลื่นได้ ทั้งนี้ต้องมีการหมั่นเคลือบน้ำยาอยู่เสมอเนื่องจากการเสื่อมสภาพ โดยภายในห้องน้ำจะสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ อ่างล้างหน้า โถสุขภัณฑ์ และส่วนอาบน้ำ
ส่วนของอ่างล้างหน้าควรมีราวจับและสามารถใช้กับวีลแชร์ได้
อ่างล้างหน้าควรมีพื้นที่ด้านล่างเพื่อให้ผู้ใช้รถวีลแชร์สามารถสอดขาเข้าไปได้ และควรติดตั้งราวจับอ่างล้างหน้าทั้ง 2 ด้าน โดยควรติดตั้งระดับเสมออ่างล้างหน้า ติดให้ชิดขอบอ่างมากที่สุดอีกทั้งก๊อกน้ำควรที่ใช้เป็นก๊อกน้ำแบบเปิดปิดง่าย ออกแรงน้อย
ห้องน้ำ
ส่วนของโถสุขภัณฑ์ควรอยู่ในระดับที่เหมาะสมและมีปุ่มกดสัญญาณขอความช่วยเหลือ
ควรใช้โถสุขภัณฑ์ที่เป็นนั่งราบแบบมีหม้อน้ำเป็นพนักพิง มีปุ่มปล่อยน้ำด้านหน้าง่ายต่อการใช้งาน ความสูงไม่ควรสูงหรือเตี้ยเกินไป ระดับที่เหมาะสมคือระดับจากพื้นถึงเข่าของแต่ละคน โดยทั่วไปจะใช้ความสูงประมาณ 40-45 เซนติเมตร บริเวณที่นั่งชักโครกควรจะมีราวจับเพื่อช่วยพยุงตัว และปุ่มกดสัญญาณขอความช่วยเหลือติดตั้งด้านข้างชักโครกสูงจากพื้นประมาณ 90 เซนติเมตร
ส่วนอาบน้ำมีพื้นที่กว้างให้ผู้สูงอายุเพื่อรองรับในอนาคต
ควรมีพื้นที่กว้างเผื่อในอนาคตนั้นจำเป็นต้องมีผู้ช่วยอาบน้ำจะได้มีพื้นที่เพียงพอต่อการใช้งาน มีความลาดเอียงไปสู่ท่อระบายน้ำได้อย่างรวดเร็ว ความสูงของก๊อกฝักบัวสูง 90 เซนติเมตรมีราวปรับความสูงได้และเป็นแบบปัดเพื่อให้เปิด-ปิดง่าย
พื้นที่ทั่วไป
สรุป
- พื้นห้องน้ำควรมีพื้นที่ว่างและไม่เล่นระดับ
- ส่วนของอ่างล้างหน้าควรมีราวจับและสามารถใช้กับวีลแชร์ได้
- ส่วนของโถสุขภัณฑ์ควรอยู่ในระดับที่เหมาะสมและมีปุ่มกดสัญญาณขอความช่วยเหลือ
- ส่วนอาบน้ำมีพื้นที่กว้างให้ผู้สูงอายุเพื่อรองรับในอนาคต
การเป็นผู้สูงอายุนอกจากมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายแล้ว การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การจัดการสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัยที่ดีควรคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงในทุกๆ ด้าน การปรับปรุงที่อยู่อาศัยเดิมให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุจึงมีความสอดคล้องกับสภาพสังคมและจิตใจของผู้สูงอายุ เราจึงควรออกแบบในทุกๆ ห้องของบ้านให้รองรับกับคนที่เรารัก เพื่อการอยู่ร่วมกันของสมาชิกครอบครัวภายในบ้านอย่างมีความสุข